ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

บริหารการศึกษากลุ่มดอนทอง 52 (2553).

         ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม  วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้

1.        มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
2.        จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.        วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2  ส่วน  คือ การสัมผัสทั้ง 5  การรู้สึกและจินตนาการ
4.        ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3  ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
5.        แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3  ระดับ  คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
6.        แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่

แม่นำ (2551).

          ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิดไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

พรหมมา วิหกไพบูลย์  (2558).

           ผู้รวบรวม ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

สรุป

           ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)   การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

ที่มา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเรียนการสอน

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค TGT