บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

เทคนิคการเรียนการสอน

Moobo (2557) เทคนิคการสอนแบบต่างๆสำหรับครูมืออาชีพ 1.  การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย  (Lecture Method) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังบรรยาย หรืออาจมีโอกาสซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย 2.  การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย  (Discussion Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบ แนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และ

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

พรหมมา วิหคไพบูลย์   (2558). แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ    การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง   หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ   ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน    ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน    เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ    ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย    เช่น    การประเมินตนเอง    การประเมินโดยครูและเพื่อน    การสังเกต    การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( ม.ป.ป. ). เขียนเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน( Constructionism)   แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ    การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง    หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยี

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

ลักขณา สริวัฒน์  ( 2557 ) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism ) ไว้ดังนี้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (  Constructivism)  แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ ซึ่งมีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยาเริ่มต้นด้วยเพียเจต์ ( Piaget ) ที่เสนอไว้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นเอกนัย และวีกอทสกี ( Vygotsky. 1978 ) ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่าเกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น ซึ่งผลงานเขาเป็นที่ยอมรับกันในประเทศรัสเซียและเริ่มเผยแพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในยุโรป สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism ) จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ( Cognitive Psychology ) มีรากฐานมาจากผลงานของออซูเบล ( Ausubel ) และเพียเจต์ ( Piaget ) ผู้เขียนได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.  หลักการสำคัญของทฤษฎีการสร้างความ