การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค TGT


การเรียนการสอนแบบ  TGT  นั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจมากขึ้น  มีองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
1.     ทีม  (Teams)  แบ่งนักเรียนออกเป็น  4-5  ทีม  แต่ละทีมจะมีนักเรียนหลากหลาย  คือ  จะมีนักเรียนที่มีทั้งผลสัมฤทธิ์สูง  ปานกลาง  ต่ำ  และเพศคละกัน  สมาชิกจะอยู่ในทีมอย่างถาวร  แต่ละทีมจะได้รับการฝึกฝนเหมือนกัน  และในทีมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทบทวนสิ่งที่ครูสอน
2.     เกม  (Games)  เกมที่ใช้เป็นการฝึกทักษะ  ซึ่งเน้นที่เนื้อหา  หลักสูตร  นักเรียนจะได้ตอบปัญหา  เกมบัตรคำ  ซึ่งเน้นกฎเกณฑ์พื้นฐานลำดับก่อน – หลัง  การแข่งขันที่ยึดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
3.     การแข่งขัน  (Tournaments)  การฝึกในทีมจะมีการแข่งขัน  อาจมีอาทิตย์ละ  1 – 2  ครั้ง  โดยดูจากผลงาน  นักเรียนจะได้เปรียบเทียบคะแนนของแต่ละทีม  ว่าทีมใดคะแนนสูงสุด  ปานกลาง  ต่ำ  คะแนนนี้จะแยกเป็นคะแนนสมาชิกแต่ละคนด้วย

ประเภทของเกม
1.     เกมพัฒนาการ  เป็นเกมแนะนำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
2.     เกมยุทธวิธี  เป็นเกมที่ต้องแก้ปัญหาให้ผู้เล่นสร้างแผนการขึ้นเพื่อจะได้บรรลุจุดประสงค์
3.     เกมเสริมแรง  เป็นเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ  และเพิ่มพูนทักษะให้สามารถนำความคิดรวบยอดไปใช้ประโยชน์ได้

หลักในการนำเกมมาใช้ในกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ จะใช้เกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูควรมีหลักดังนี้
1.     เกมที่นำมาสอน  ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
·      ใช้เครื่องมือบ่อย  ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก
·      ควรเป็นการเล่นที่ส่งเสริมทักษะที่สอน
·      นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม
·      การเล่นควรเหมาะสมกับวัยของเด็ก
2.     ผู้สอนต้องสนุกสนานกับการเล่นด้วย
3.     การเล่นแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง
·      การปฏิบัติตามกฎกติกา
·      การมีน้ำใจนักกีฬา  มารยาท  และความยุติธรรม
4.     ใช้เวลาในการอธิบายน้อยที่สุดแต่เข้าใจ เช่น วิธีเล่นเกม หน้าที่ของแต่ละคนพอสังเขป
5.     ควรให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งมาแสดงให้เพื่อน ๆ ดูก่อนเพื่อความเข้าใจ
6.     การเล่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลานานเกินไป  ประมาณ  10 – 15  นาที
7.     การเล่น  ถ้านักเรียนมากเกินไป  ควรแบ่งกลุ่ม
8.     เกมที่เล่นต้องดึงดูดความสนใจ  สนุกสนาน  และท้าทายความสามารถของผู้เล่น
9.     เกมนั้นจะต้องสามารถทำให้การเรียนการสอนไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้

ตัวอย่างแผนการเรียนการสอนแบบ TGT




ที่มา
·      www.tta.in.th/uploadfile/1169/SO-7-853-11708-1169-doc.pdf.[online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561
·      เบ็ญจ ใจการุณ.(2552).https://www.gotoknow.org/user/jbenja01/posts.[online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเรียนการสอน

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)