ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

เลิศชาย ปานมุข (2558).

          ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)  ไว้ดังนี้ นักคิด กลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555).

           ได้รวมรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นฝึกจิตหรือสมองทฤษฎีข(Mental Discipline) ว่านักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

Narissara Yamansabeedin (2556).

            ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีของก.ลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (MENTAL DISCIPLINE) จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออก

สรุป

             ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) จะพัฒนาได้ด้วยการฝึกให้จิตและสมองได้มีการคิดออกกำลังกายทางด้านจิตและสมองอยู่เสมอ เพื่อให้จิตและสมองเกิดความแข็งแกร่ง การฝึกให้มีกระบวนการคิดที่เป็นขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผนที่ดีและเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

ที่มา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเรียนการสอน

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

การจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค TGT