บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 ( 2553). กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน 1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ    1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน    2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด    3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน    4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย    5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม 2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ    1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น    2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น    3) สุขภาพจิตดีขึ้น 3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ    1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ    2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ    3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร แม่นำ (2550). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning ) แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อ

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

บริหารการศึกษากลุ่มดอนทอง 52 (2553).           ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค   วิลเฮล์ม  วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้ 1.          มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง   การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม 2.          จอห์น ล็อค เชื่อว่า   การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง  5 3.          วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ  2   ส่วน  คือ การสัมผัสทั้ง  5   การรู้สึกและจินตนาการ 4.          ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ  3   ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง  5  การรู้สึก และจินตนาการ 5.          แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี  3   ระดับ  คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ 6.          แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ แม่นำ  ( 2551).           ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยงความคิดไว้ว่า   นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า   การเรียนรู้เกิด

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา ( 2553).            กล่าวว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ ( Rousseau)  ฟรอเบล ( Froebel)  และเพสตาลอสซี ( Pestalozzi)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้  1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง ( good - active) 2. ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ  3. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก  4. รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย  5. เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน  3  ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

เลิศชาย ปานมุข  (2558).           ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental Discipline)   ไว้ดังนี้ นักคิด กลุ่มนี้มีความเชื่อว่า    จิตหรือสมองหรือสติปัญญา( mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก    ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร    จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น    หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา สยุมพร   ศรีมุงคุณ   (2555).             ได้รวมรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นฝึกจิตหรือสมองทฤษฎีข( Mental Discipline)  ว่านักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า   จิตหรือสมองหรือสติปัญญา( mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก   ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร   จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น   หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส( Socratic Me